เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 7. อรหันตวรรค 5. มหากัจจายนเถรวัตถุ
4. อนุรุทธเถรวัตถุ
เรื่องพระอนุรุทธเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[93] ท่านผู้สิ้นอาสวะแล้ว ไม่ติดในอาหาร
มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์ เป็นอารมณ์
ไม่ทิ้งร่องรอยไว้ให้เป็นที่รู้ได้
เหมือนนกไม่ทิ้งร่องรอยไว้ในอากาศ ฉะนั้น1

5. มหากัจจายนเถรวัตถุ
เรื่องพระมหากัจจายนเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[94] ผู้ใดฝึกอินทรีย์2ให้สงบได้
เหมือนม้าที่นายสารถีฝึกดีแล้ว
ผู้นั้นย่อมละมานะได้ ไม่มีอาสวะ คงที่
แม้ทวยเทพทั้งหลายก็รักใคร่

เชิงอรรถ :
1 ขุ.เถร. (แปล) 26/92/337
2 อินทรีย์ หมายถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (ขุ.ธ.อ. 4/58)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :58 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ธรรมบท 7. อรหันตวรรค 8. สารีปุตตเถรวัตถุ
6. สารีปุตตเถรวัตถุ
เรื่องพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้)
[95] ภิกษุผู้คงที่ มีวัตรงาม
ไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยแผ่นดิน
เปรียบด้วยเสาเขื่อน
(มีใจผ่องใส) เหมือนห้วงน้ำไร้เปือกตม
สังสารวัฏย่อมไม่มีแก่ผู้เช่นนั้น

7. โกสัมพีวาสีติสสเถรสามเณรวัตถุ
เรื่องสามเณรของพระติสสเถระชาวเมืองโกสัมพี
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่พระติสสเถระชาวเมืองโกสัมพี ดังนี้)
[96] ผู้หลุดพ้นเพราะรู้ชอบ ผู้สงบ ผู้คงที่
ย่อมมีมโนกรรมที่สงบ วจีกรรมที่สงบ กายกรรมที่สงบ

8. สารีปุตตเถรวัตถุ
เรื่องพระสารีบุตรเถระ
(พระผู้มีพระภาคตรัสพระคาถานี้แก่ภิกษุผู้อยู่ในป่า 30 รูป ดังนี้)
[97] นรชนใด ผู้ไม่ต้องเชื่อใคร1
รู้จักนิพพานที่ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้

เชิงอรรถ :
1 ไม่ต้องเชื่อใคร ในที่นี้หมายถึงรู้แจ้งธรรมอย่างประจักษ์ชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องรอสดับธรรมจากผู้อื่น (ขุ.ม.อ.
88/339-341)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 25 หน้า :59 }